การฉีดฟิลเลอร์ได้กลายเป็นทางเลือกยอดนิยมสำหรับผู้ที่ต้องการปรับปรุงรูปลักษณ์และลดเลือนริ้วรอยอย่างรวดเร็วและไม่ต้องผ่าตัด อย่างไรก็ตาม ความสวยความงามย่อมมาพร้อมกับความเสี่ยง และหนึ่งในความกังวลที่สำคัญที่สุดคือภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลกระทบต่อดวงตา
บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจถึงความเป็นไปได้ของภาวะตาบอดหลังการฉีดฟิลเลอร์ พร้อมให้ข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับสาเหตุ ความเสี่ยง และวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจอย่างมีสติและปลอดภัยก่อนการทำหัตถการครับ
ฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอด เกิดขึ้นได้จริงไหม?
คำตอบคือ เกิดขึ้นได้จริงครับ แม้จะเป็นกรณีที่พบได้น้อยมาก แต่ก็ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุดจากการฉีดฟิลเลอร์ โดยเฉพาะหากฉีดในบริเวณที่มีเส้นเลือดเชื่อมโยงกับระบบหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงดวงตา เช่น หน้าผาก ขมับ ดั้งจมูก หรอืร่องแก้ม หากฉีดผิดตำแหน่งหรือฉีดลึกเกินไป แล้วฟิลเลอร์หลุดเข้าไปอุดตันในหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปยังจอประสาทตา ก็อาจทำให้เกิดอาการตาบอดแบบเฉียบพลันได้ทันที
อาการนี้มักจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่วินาทีหลังฉีด โดยคนไข้จะรู้สึกเห็นภาพเบลอ มืดลงทันที หรือมองไม่เห็นเลยในข้างที่ได้รับผล ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาทันทีภายใน 60–90 นาทีแรกเท่านั้น ถึงจะมีโอกาสฟื้นการมองเห็นได้บางส่วน หากเกินเวลานี้ เนื้อเยื่อจอประสาทตาอาจตายถาวรและตาบอดได้อย่างถาวรครับ
สถิติคนตาบอดจากการฉีดฟิลเลอร์
แม้อาการตาบอดจากการฉีดฟิลเลอร์จะเกิดขึ้นไม่บ่อย แต่ก็เป็นภาวะแทรกซ้อนที่แพทย์ทั่วโลกให้ความสำคัญอย่างมากครับ จากรายงานทางการแพทย์ในระดับสากล พบว่าอัตราการตาบอดถาวรจากการฉีดฟิลเลอร์อยู่ที่ประมาณ 1 ใน 10,000 ถึง 1 ใน 100,000 เคส ซึ่งแม้จะถือว่าน้อยมาก แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มักจะส่งผลกระทบต่อการมองเห็นอย่างถาวรและไม่สามารถรักษาให้กลับมาเหมือนเดิมได้
ข้อมูลจากวารสาร Aesthetic Surgery Journal (ASJ) และรายงานเคสจากหลายประเทศ พบว่า ผู้ป่วยกว่า 100 รายทั่วโลก เคยมีภาวะสูญเสียการมองเห็นหลังการฉีดฟิลเลอร์ โดยบริเวณที่เสี่ยงสูงที่สุดคือบริเวณดั้งจมูก ร่องน้ำตา ขมับ และหน้าผาก
ฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอด เกิดจากอะไร?
- ฟิลเลอร์หลุดเข้าเส้นเลือดโดยตรง
หากฉีดฟิลเลอร์เข้าไปผิดตำแหน่ง โดยเฉพาะในจุดที่มีเส้นเลือดสำคัญ ฟิลเลอร์อาจถูกฉีดเข้าไปในหลอดเลือดโดยไม่ตั้งใจ เมื่อเข้าไปแล้วสามารถเคลื่อนที่ตามแรงดันเลือดและไปอุดตันเส้นเลือดที่เลี้ยงดวงตาได้ - อุดตันเส้นเลือดที่เชื่อมกับตา เช่น หลอดเลือดแดงตา
เส้นเลือดบริเวณใบหน้า เช่น หน้าผาก ดั้งจมูก ระหว่างคิ้ว มีทางเชื่อมต่อกับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตาโดยตรง หากฟิลเลอร์อุดตันบริเวณนี้ เลือดจะไม่สามารถไปเลี้ยงตาได้ทัน ทำให้เกิดภาวะตาบอดเฉียบพลัน - แรงดันในการฉีดสูงเกินไป
การฉีดด้วยแรงดันที่มากเกินจำเป็น หรือฉีดเร็วเกินไป จะเพิ่มโอกาสที่ฟิลเลอร์จะทะลุเข้าเส้นเลือด และพุ่งกระจายไปยังตำแหน่งที่ไม่ต้องการได้ง่าย ซึ่งเป็นความเสี่ยงโดยเฉพาะในมือผู้ที่ไม่มีความชำนาญ - ใช้เทคนิคที่ไม่ปลอดภัย หรือฉีดผิดชั้นผิว
หากฉีดในชั้นผิวที่ลึกเกินไป หรือฉีดในแนวตรงที่ไม่มีการประเมินโครงสร้างหน้าอย่างละเอียด อาจทำให้ปลายเข็มทะลุเข้าเส้นเลือดโดยไม่รู้ตัว จึงต้องอาศัยประสบการณ์ของแพทย์และความแม่นยำในการวางเข็ม - เลือกฉีดในบริเวณที่มีเส้นเลือดเชื่อมกับดวงตา
จุดเสี่ยง เช่น ดั้งจมูก ร่องน้ำตา หน้าผาก ขมับ และระหว่างคิ้ว เป็นบริเวณที่เชื่อมกับเส้นเลือดของดวงตาโดยตรง การฉีดฟิลเลอร์ในบริเวณเหล่านี้โดยไม่ระวัง จะเพิ่มโอกาสเกิดภาวะตาบอดได้สูงขึ้น
ฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอด อาการเป็นอย่างไร?
อาการตาบอดจากการฉีดฟิลเลอร์เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่เกิดขึ้นได้จริง แม้จะพบไม่บ่อย แต่เมื่อเกิดแล้ว มักส่งผลรุนแรงและอาจไม่สามารถรักษาการมองเห็นให้กลับมาได้เต็มที่ครับ โดยทั่วไป อาการจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ภายในไม่กี่วินาทีถึงไม่กี่นาทีหลังฉีดฟิลเลอร์ และเกิดจากการที่สารฟิลเลอร์เข้าไปอุดตันหลอดเลือดที่เชื่อมกับจอประสาทตา ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงเนื้อเยื่อตาได้ ส่งผลให้เซลล์ในตาขาดออกซิเจนและตายลงอย่างรวดเร็ว
ผู้ที่ประสบภาวะนี้จะมีอาการมองไม่เห็นทันที ซึ่งอาจเกิดกับตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ความรู้สึกเหมือนมีม่านดำปิดอยู่ตรงหน้า หรือภาพมัวลงจนไม่สามารถโฟกัสสิ่งต่างๆ ได้ บางรายมองเห็นแสงรางๆ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและระดับของการอุดตันในหลอดเลือด
นอกจากอาการมองไม่เห็นแล้ว ยังอาจมีอาการร่วมอื่นๆ เช่น
- ปวดเบ้าตาหรือปวดศีรษะข้างเดียวอย่างรุนแรง เนื่องจากความดันในหลอดเลือดรอบเบ้าตาเพิ่มขึ้น
- กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น หรือเคลื่อนไหวลูกตาลำบาก
- ผิวบริเวณที่ฉีดซีด ม่วงคล้ำ หรือเย็นผิดปกติ บ่งบอกว่าหลอดเลือดบริเวณนั้นถูกอุดตันและเลือดไปเลี้ยงไม่พอ
ฉีดฟิลเลอร์ในตำแหน่งไหนเสี่ยงตาบอดบ้าง?
การฉีดฟิลเลอร์ในบางตำแหน่งบนใบหน้าอาจมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะตาบอดได้ เนื่องจากบริเวณเหล่านั้นมีเส้นเลือดที่เชื่อมต่อโดยตรงกับระบบหลอดเลือดของดวงตา โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา หากฟิลเลอร์เข้าไปอุดตันเส้นเลือดเหล่านี้ จะทำให้เลือดไปเลี้ยงดวงตาไม่ได้และเกิดการมองไม่เห็นแบบเฉียบพลันได้ครับ ตำแหน่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ ได้แก่:
- ดั้งจมูก
เป็นจุดที่มีเส้นเลือดเชื่อมกับดวงตาโดยตรง การฉีดลึกหรือใช้แรงดันสูงในบริเวณนี้ มีโอกาสที่ฟิลเลอร์จะเข้าไปในหลอดเลือดและพุ่งเข้าสู่จอประสาทตาได้ จึงถือเป็นหนึ่งในตำแหน่งที่เสี่ยงที่สุด - ระหว่างคิ้ว
บริเวณนี้มีเส้นเลือดขนาดเล็กและเชื่อมต่อกับเส้นเลือดจอประสาทตา การฉีดผิดชั้นหรือฉีดแรงเกินไปอาจทำให้ฟิลเลอร์หลุดเข้าไปอุดตันได้อย่างรวดเร็ว - หน้าผาก
แม้จะดูเหมือนห่างจากดวงตา แต่หลอดเลือดบริเวณหน้าผากมีการเชื่อมโยงกับดวงตาโดยตรงผ่านแขนงของเส้นเลือดแถวหน้าผาก ทำให้มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน - ขมับ
การฉีดบริเวณขมับต้องอาศัยความชำนาญสูง เพราะเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดและเส้นประสาทจำนวนมาก และบางแขนงสามารถเชื่อมไปถึงดวงตาได้เช่นกัน - ร่องน้ำตา
บริเวณใต้ตานี้มีเส้นเลือดขนาดเล็กและเปราะบาง หากฉีดผิดตำแหน่งหรือใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดการอุดตันหรือภาวะแทรกซ้อนได้ - ร่องแก้ม
บางครั้งแม้ร่องแก้มจะดูเป็นตำแหน่งปลอดภัย แต่ก็มีแขนงของเส้นเลือดหลอดเลือดแดงเชิงมุม ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับดวงตาได้ หากใช้เทคนิคไม่ปลอดภัยก็อาจเกิดความเสี่ยงได้เช่นกัน
ดังนั้น หากต้องการฉีดฟิลเลอร์ในตำแหน่งเหล่านี้ ควรให้แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการฉีดฟิลเลอร์เป็นผู้ประเมินและทำหัตถการ เพื่อความปลอดภัยสูงสุด และลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างตาบอดจากฟิลเลอร์ครับ
ฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอด แก้ไขได้ไหม?
ในทางการแพทย์ ภาวะตาบอดจากการฉีดฟิลเลอร์จัดว่าเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรีบให้การรักษาภายใน “60–90 นาทีแรก” เท่านั้นครับ เพราะเมื่อเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตาถูกฟิลเลอร์อุดตัน เซลล์ประสาทตาจะขาดออกซิเจนอย่างเฉียบพลัน และหากปล่อยไว้นานเกินกว่านั้น เซลล์จะเริ่มตายอย่างถาวร ทำให้ไม่สามารถฟื้นการมองเห็นกลับมาได้อีก
แนวทางการรักษาที่แพทย์อาจพิจารณาทันที ได้แก่:
- การฉีดเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส เพื่อสลายฟิลเลอร์ที่อุดตันหลอดเลือด โดยต้องฉีดในตำแหน่งที่ถูกต้องและทันเวลา เพื่อให้ฟิลเลอร์สลายตัวก่อนที่เซลล์จอประสาทตาจะถูกทำลาย
- การนวดบริเวณที่ฉีด เพื่อกระจายแรงดันและช่วยให้เลือดไหลกลับไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้
- การใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และยาขยายหลอดเลือด เพื่อเพิ่มการไหลเวียน
- ให้ออกซิเจนแรงดันสูง เพื่อช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่ขาดออกซิเจน
ฉีดฟิลเลอร์ อันตรายไหม
คำถามนี้เจอกันบ่อยมากครับ โดยเฉพาะสำหรับคนที่เริ่มสนใจดูแลตัวเองแต่ยังลังเล การฉีดฟิลเลอร์จริงๆ แล้วไม่อันตรายครับ ถ้าเลือกฉีดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ใช้ฟิลเลอร์แท้ที่ผ่าน อย. และทำในคลินิกที่มีมาตรฐาน เพราะฟิลเลอร์ที่นิยมในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นสารไฮยาลูโรนิกแอซิด ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่ในร่างกายตามธรรมชาติ จึงสามารถสลายตัวได้เองและไม่ตกค้าง ที่สำคัญหากฉีดออกมาไม่ถูกใจ ก็สามารถฉีดสลายได้ครับ
แต่ก็ต้องยอมรับว่าฟิลเลอร์ก็มีความเสี่ยงเหมือนหัตถการอื่นๆ โดยเฉพาะถ้าฉีดกับบุคคลที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ หรือไม่มีประสบการณ์ อาจทำให้เกิดอาการบวม ช้ำ เป็นก้อน หรือในบางกรณีที่รุนแรง เช่น ฉีดเข้าเส้นเลือดผิดตำแหน่ง ก็อาจเกิดภาวะอันตรายอย่างเช่น ตาบอดหรือเนื้อตายได้ แม้โอกาสจะน้อย แต่ก็ต้องใส่ใจครับ
ป้องกันปัญหาการฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอด ได้อย่างไรบ้าง?
เลือกแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ก่อนตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์ ควรตรวจสอบคุณสมบัติของแพทย์อย่างรอบคอบ โดยเลือกแพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพถูกต้องตามกฎหมาย และมีประสบการณ์เฉพาะทางด้านการฉีดฟิลเลอร์ ทั้งในแง่ของเทคนิค ความรู้ด้านกายวิภาค และการรับมือกับภาวะแทรกซ้อน นอกจากนี้ ควรศึกษาผลงานที่ผ่านมา รวมถึงอ่านรีวิวหรือความคิดเห็นจากผู้ที่เคยรับบริการจริง เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพและความน่าเชื่อถือของแพทย์ก่อนเข้ารับการรักษาครับ
ตรวจสอบก่อนการฉีด
ควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของตนเองให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัว ยาที่ใช้อยู่ประจำ หรืออาการแพ้ใดๆ เพื่อให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างปลอดภัยและลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ครับ นอกจากนี้ แพทย์ควรมีการประเมินโครงสร้างใบหน้าอย่างละเอียด รวมถึงตำแหน่งของเส้นเลือดบริเวณที่จะฉีด เพื่อเลือกเทคนิคและปริมาณฟิลเลอร์ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลให้ได้ผลลัพธ์ที่ปลอดภัยและเป็นธรรมชาติมากที่สุดครับ
เทคนิคการฉีดที่ปลอดภัย
การฉีดฟิลเลอร์ให้ปลอดภัยควรใช้เทคนิคที่ถูกต้อง โดยแพทย์ต้องมีความชำนาญสูงและระมัดระวังในทุกขั้นตอน เพื่อหลีกเลี่ยงการฉีดผิดชั้นผิวหรือกระทบต่อหลอดเลือดที่สำคัญครับ นอกจากนี้ควรเลือกใช้ฟิลเลอร์ที่มีคุณภาพ ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อย. ไทย หรือ FDA สหรัฐฯ เพื่อความปลอดภัยของคนไข้ในระยะยาว และที่สำคัญคือการใช้เข็มที่มีขนาดเล็กและเหมาะสมกับตำแหน่งที่ฉีด จะช่วยลดแรงดัน ลดโอกาสทะลุเส้นเลือด และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ครับ
ระวังพื้นที่เสี่ยง
ควรหลีกเลี่ยงการฉีดฟิลเลอร์ในบริเวณที่อยู่ใกล้ดวงตาโดยเด็ดขาด เพราะเป็นจุดที่มีเส้นเลือดเชื่อมต่อกับดวงตาโดยตรง และมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะตาบอด หากจำเป็นต้องฉีดในจุดเหล่านี้ ควรให้แพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์เป็นผู้ประเมินและลงมือฉีดเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยสูงสุดครับ นอกจากนี้ การตรวจสอบตำแหน่งหลอดเลือดก่อนฉีดด้วยเทคนิคเฉพาะ เช่น การคลำเส้นเลือดหรือใช้แสงส่องตรวจ จะช่วยให้แพทย์หลีกเลี่ยงจุดเสี่ยงได้ดีขึ้น ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้อย่างมากครับ
ฉีดฟิลเลอร์ที่ 42G Clinic ดีอย่างไร?
สำหรับใครที่กำลังมองหาคลินิกฉีดฟิลเลอร์ดีๆ ที่ทั้งปลอดภัยและผลลัพธ์ออกมาดูสวยเป็นธรรมชาติแบบไม่โป๊ะ 42G Clinic เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่หลายคนไว้วางใจครับ เพราะที่นี่ดูแลทุกเคสอย่างละเอียด ตั้งแต่ขั้นตอนการวิเคราะห์ใบหน้าจนถึงการติดตามผลหลังทำจริงๆ
- เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ใบหน้าแบบละเอียด
ไม่ได้ฉีดตามเทรนด์ แต่แพทย์จะดูโครงหน้า ลักษณะผิว และปัญหาเฉพาะของแต่ละคน เพื่อวางแผนให้ฟิลเลอร์ที่เติมเข้าไปช่วยเสริมจุดดี และปรับจุดที่ต้องการได้อย่างพอดี ไม่เยอะเกินไป ดูเป็นธรรมชาติครับ - วางแผนแบบเฉพาะบุคคล
ทุกเคสมีการคำนวนปริมาณ จุดที่จะฉีด และเลือกรุ่นของฟิลเลอร์ที่เหมาะกับเนื้อผิวและปัญหาของแต่ละคน ไม่ใช้แบบเหมารวมหรือสูตรเดียวกันหมด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์จริงๆ - เลือกเทคนิคที่ปลอดภัยและเหมาะกับตำแหน่งที่ฉีด
เพราะแต่ละจุดบนใบหน้าใช้เทคนิคต่างกัน เช่น บางจุดต้องเน้นความเรียบเนียน บางจุดต้องใช้ฟิลเลอร์ที่ยกกระชับได้ดี แพทย์จะเลือกให้เหมาะกับใบหน้าของคุณที่สุด - มั่นใจได้ว่าใช้ฟิลเลอร์แท้เท่านั้น
ทุกกล่องเป็นของแท้ผ่าน อย. แพทย์จะแกะกล่องให้ดูต่อหน้าเลยครับ เพื่อความสบายใจ และไม่ต้องกังวลเรื่องของปลอมแน่นอน - คลินิกสะอาด ปลอดเชื้อทุกขั้นตอน
ห้องหัตถการสะอาดได้มาตรฐาน เครื่องมือผ่านการฆ่าเชื้อทุกเคส ใครที่กังวลเรื่องความปลอดภัยตรงนี้ หายห่วงได้เลยครับ - ฉีดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกเคส
ไม่ใช่ผู้ช่วยหรือบุคลากรทั่วไปแน่นอนครับ คุณหมอที่นี่มีประสบการณ์ด้านฟิลเลอร์โดยตรง เข้าใจใบหน้า และฉีดได้อย่างปลอดภัย
สรุป: ฉีดฟิลเลอร์แล้วตาบอด เกิดขึ้นได้จริงไหม และมีวิธีป้องกันอย่างไร?
การฉีดฟิลเลอร์สามารถเกิดภาวะตาบอดได้จริง แม้จะพบได้น้อยมาก แต่ก็ถือเป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุด ซึ่งเกิดจากการที่ฟิลเลอร์หลุดเข้าไปอุดตันหลอดเลือดที่เชื่อมต่อกับดวงตา ทำให้เลือดไม่สามารถไหลไปเลี้ยงจอประสาทตาได้ ส่งผลให้เกิดอาการตาบอดเฉียบพลัน และอาจรักษาไม่หายหากเกิน 60–90 นาทีหลังเกิดเหตุครับ
อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้สามารถป้องกันได้ หากฉีดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีความเข้าใจในโครงสร้างหลอดเลือดบนใบหน้า เลือกใช้ฟิลเลอร์แท้ที่ผ่านมาตรฐาน และใช้เทคนิคการฉีดที่ปลอดภัย เช่น การฉีดช้า ใช้เข็มขนาดเหมาะสม หรือใช้ cannula ในบริเวณเสี่ยง นอกจากนี้ ควรเลือกคลินิกที่สะอาด ปลอดเชื้อ และมีเครื่องมือพร้อมรองรับภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะปลอดภัยและได้ผลลัพธ์ที่สวยอย่างที่ตั้งใจครับ
สนใจปลูกผมถาวร: 42G Clinic ปลูกผม